Cute-Spot.com - Myspace Generators and Glitter Graphics!
.:::Love's Cute Spot!:::.
Visit MyCuteSpace.com!

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551

ข่าวยาบ้า

ยาบ้า 1 แสนเม็ด ที่อำเภอฝาง จ.เชียงใหม่

ชุดปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติดสนธิกำลังบุกจับยาบ้า 1 แสนเม็ด ที่อำเภอฝาง จ.เชียงใหม่
ชุดปฏิบัติการ ปปส.ภาค 5, ชุดปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติด ภูธร จ.เชียงใหม่, ฝ่ายทหารพรานปฏิบัติการทัพ ภาค3 ส่วนแยก11 ร้องธาร , หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารม้าที่ 2 กองกำลังผาเมือง พร้อมด้วยชุดสืบสวนตำรวจภูธรอำเภอฝางและชุดสืบสวนตำรวจภูธรอำเภอไชยปราการ สนธิกำลังทุกฝ่ายเข้าจับกุมผู้ลำเลียงยาเสพติด ในพื้นที่อำเภอฝางและอำเภอไชยปราการ จ.เชียงใหม่
จากการสืบทราบของเจ้าหน้าที่ ว่ามีการลักลอบลำเลียงยาเสพติดจากแนวตะเข็บชายแดนอำเภอฝาง จ.เชียงใหม่ ไปจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย จึงได้ติดตามพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย เวลา พบรถยนต์ต้องสงสัยตามที่รับแจ้ง เดินทางเข้าไปในพื้นที่บ้านสันมะกอกหวาน ต.แม่ข่า อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ จึงเรียกให้จอดและแสดงตัวเข้าจับกุม พบรถยนต์เก๋งยี่ห้อโตโยต้า สีบรอนเงิน ทะเบียน กน-3014 ชม.ทราบภายหลังว่าเป็นรถเช่ามาจากบริษัทเช่ารถในตัวเมืองเชียงใหม่ จากการตรวจค้นภายในรถพบสารเสพติดชนิดยาบ้าปั๊มอักษร WY ห่อพลาสติคใส บรรจุเป็นแพ็คๆ จำนวนประมาณ 1 แสนเม็ด พบผู้ต้องหาในรถเป็นชาย 3 คน ทราบชื่อผู้ต้องหาคือนายศักดิ์สิทธิ์ นามสกุล นทีไพรวัลย์ พักบ้านเลขที่ 362 หมู่ที่ 2 ต.มหาวัน อ.แม่สอด จ.ตาก ,นายวิชัย นามสกุล แซ่กือ พักบ้านเลขที่ 20 หมู่ 7 ต.ด่านแม่ละเมา อ.แม่สอด จ.ตาก และนายณัฐสิทธิ์ นามสกุล อัครรุ่งโรจน์ พักบ้านเลขที่ 84 หมู่ที่ 6 ต.ช่องแคบ อ.พบพระ จ.ตาก ผู้ต้องหาทั้งหมดให้การสารภาพว่ารับยาบ้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน ลักลอบเข้ามาตามช่องทางแนวตะเข็บชายแดน ด้าน อ.ฝาง ติดต่อเขตอ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ เจ้าหน้าที่ จึงได้นำผู้ต้องหาและของกลางทั้งหมดส่งดำเนินคดีสถานีตำรวจภูธรอำเภอไชยปราการ จ.เชียงใหม่ เพื่อสืบสวนขยายผลในการจับกุมต่อไป

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2551

ยาบ้า....อันตราย

ยาบ้า

--- เป็นชื่อที่ใช้เรียกยาเสพติดที่มีส่วนผสมของสารเคมี ประเภทแอมเฟตามีน (Amphetamine) สารประเภทนี้แพร่ระบาดอยู่ 3 รูปแบบด้วยกัน คือ แอมเฟตามีนซัลเฟต (Amphetamine Sulfate) เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) และเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ (Methamphetamine Hydrochloride) ซึ่งจากผลการตรวจพิสูจน์ยาบ้าปัจจุบันที่พบอยู่ในประเทศไทยมักพบว่า เกือบทั้งหมดมีเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ผสมอยู่
ยาบ้า จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีลักษณะเป็นยาเม็ดกลมแบนขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ความหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร น้ำหนักเม็ดยาประมาณ 80-100 มิลลิกรัม มีสีต่างๆ กัน เช่น สีส้ม สีน้ำตาล สีม่วง สีชมพู สีเทา สีเหลืองและสีเขียว มีสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนเม็ดยา เช่น ฬ, M, PG, WY สัญลักษณ์รูปดาว, รูปพระจันทร์เสี้ยว, 99 หรืออาจเป็นลักษณะของเส้นแบ่งครึ่งเม็ด ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้อาจปรากฏบนเม็ดยาด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน หรืออาจเป็นเม็ดเรียบทั้งสองด้านก็ได้


ฤทธิ์ในทางเสพติด และ อาการผู้เสพ :

ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่มีอาการขาดยาทางร่างกายเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ในระยะแรกจะออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ใจสั่น ประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยา จะรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติ ประสาทล้าทำให้การตัดสินใจช้า และผิดพลาด เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้สมองเสื่อม เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง เสียสติ เป็นบ้าอาจทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้ หรือในกรณีที่ได้รับยาในปริมาณมาก (Overdose) จะไปกดประสาท และระบบการหายใจทำให้หมดสติ และถึงแก่ความตายได้ยาบ้ามีคุณสมบัติ กระตุ้นระบบประสาท และกระตุ้นจิตอารมณ์ อย่างรุนแรง โดยจะมีผลอยู่ได้นาน ประมาณ 4-6 ชั่วโมง หลังจากใช้ยา ผลเหล่านี้ได้แก่ ผลกระตุ้นต่อระบบประสาท ทำให้นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร การหายใจเร็วและแรง หัวใจเต้นเร็ว และแรง ความดันเลือดสูงขึ้น รูม่านตาขยายผลกระตุ้นต่อจิตอารมณ์ ส่วนใหญ่เกิดในช่วงต้น หลังการใช้ยา ทำให้รู้สึกกระชุ่มกระชวย กระฉับกระเฉง รู้สึกตื่นตัว มีพลังมากขึ้น เกิดความมั่นใจ ซึ่งมักเป็นสาเหตุ ให้เกิดการใช้ยาในทางที่ผิด และติดยาโดยจิตใจผลต่อพฤติกรรม ซึ่งเห็นได้ชัดในช่วงปลาย หลังการใช้ยา ทำให้พูดมาก ก้าวร้าว ย้ำคิดย้ำทำ กระวนกระวาย บางครั้งมีอาการประสาทหลอน ทางสายตาหรือทางหูจากการที่ ยาบ้ากระตุ้นร่างกาย ให้ใช้พลังงานมากขึ้น แต่กลับทำให้เบื่ออาหาร และนอนไม่หลับ พลังงานสำรอง ของร่างกายจึงลดลง ดังนั้นหลังจากยาบ้า หมดฤทธิ์แล้วผู้ใช้ยา จะรู้สึกเหนื่อย และอ่อนเพลียเป็นเวลานาน รู้สึกหิวและอยากนอน ในกรณีที่ใช้ยาบ้าขนาดสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าใช้ต่อเนื่องหลายครั้ง อาจทำให้รู้สึกสับสน วิตกกังวลรุนแรง มีอาการประสาทหลอน และรู้สึกหวาดระแวงอย่างหนัก ซึ่งเป็นลักษณะคล้ายคนบ้ายาบ้านิยมใช้ ในหมู่ผู้ประกอบอาชีพ ใช้แรงงานเป็นส่วนใหญ่ มีการลักลอบจำหน่าย อยู่ตามแหล่ง ซึ่งเป็นที่รู้กันในหมู่ผู้ใช้ยา เช่น ตามปั้มน้ำมัน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยาบ้าเป็นยาเสพย์ติด ดังนั้น ทั้งการใช้ยา การมีไว้ในครอบครอง การผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก ล้วนมีความผิด ตามกฎหมายทั้งนั้น


วิธีการเสพยาในกลุ่มแอมเฟตามีนมี 4วิธี คือ

1.กิน เป็นวิธีเดิมที่ใช้กันอยู่ในกลุ่มเกษตรกรผู้ขับขี่รถ
2.ฉีดยา เข้าเส้น มักจะผสมกับยาอื่น เช่น เฮโรอิน หรือยากล่อมประสาท
3.สูบ โดยบดคลุกกับบุหรี่สูบ
4.สูดควันระเหย ดล้ายกับวิธีสูบบุหรี่ โดยบดแล้วลนไฟจะใส่ในกระดาษฟรอยด์ เรียกว่า เรือ ลนไฟแล้วใช้หลอดกาแฟดูดควันระเหย ที่เรียกว่าจับมังกร เป็นวิธีที่แพร่หลาย ในหมู่นักเรียน นักศีกษา และวัยรุ่น


โทษที่ได้รับ :
การเสพยาบ้าก่อให้เกิดผลร้ายหลายประการ ดังนี้
-ผลต่อจิตใจ เมื่อเสพยาบ้าเป็นระยะเวลานานหรือใช้เป็นจำนวนมาก จะทำให้ผู้เสพมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ กลายเป็นโรคจิตชนิดหวาดระแวง ส่งผลให้มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น เกิดอาการหวาดหวั่น หวาดกลัว ประสาทหลอน ซึ่งโรคนี้หากเกิดขึ้นแล้ว อาการจะคงอยู่ตลอดไป แม้ในช่วงเวลาที่ไม่ได้เสพยาก็ตาม -ผลต่อระบบประสาท ในระยะแรกจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาจะมีอาการประสาทล้า ทำให้การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ช้า และผิดพลาด และหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้สมองเสื่อม หรือกรณีที่ใช้ยาในปริมาณมาก (Overdose) จะไปกดประสาทและระบบการหายใจ ทำให้หมดสติและถึงแก่ความตายได้ -ผลต่อพฤติกรรม ฤทธิ์ของยาจะกระตุ้นสมองส่วนที่ควบคุมความก้าวร้าว และความกระวนกระวายใจ ดังนั้นเมื่อเสพยาบ้าไปนาน ๆ จะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป คือ ผู้เสพจะมีความก้าวร้าวเพิ่มขึ้น และหากยังใช้ต่อไปจะมีโอกาสเป็นโรคจิตชนิดหวาดระแวง เกรงว่าจะมีคนมาทำร้ายตนเอง จึงต้องทำร้ายผู้อื่นก่อน -มีโทษทางกฎหมาย เพราะ ยาบ้าจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
***ในกรณีที่ใช้ยาบ้าในขนาดสูง ในระยะเฉียบพลันจ ะทำให้ตัวร้อนเหมือนเป็นไข้ เหงื่อแตกพลั่ก ปากแห้ง ปวดศีรษะ ผิวหนังซีด ตาพร่า มึนงง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันเลือดสูงฉับพลัน ตัวสั่น ควบคุมร่างกายไม่ได้ ชัก หมดสติ ในบางรายอาจเสียชีวิต จากเส้นเลือด ในสมองแตก หัวใจวาย การชัก หรือตัวร้อนจัดถ้าหากใช้ยาต่อเนื่อง เป็นเวลานาน ยาบ้าทำให้เกิด ความผิดปกติทางจิต คล้ายกับคนบ้า ชนิดหวาดระแวง (Paranoid) และอาจก่อความรุนแรง หรืออาชญากรรมได้ ร่างกายจะทรุดโทรม อ่อนแอ เนื่องจากขาดอาหา รและขาดการพักผ่อน ทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย เช่น โรคติดเชื้อ ในบางครั้ง ผู้ที่ใช้ยาบ้า อาจจะทำงานหนักเกิน จนร่างกายรับไม่ไหว เกิดการบาดเจ็บหรือทุพลภาพได้


วิธีแก้ปัญหาการใช้ยาบ้า
1. การติดยา เป็นปัญหาหนัก ของสังคมปัจจุบัน บรรดาผู้ติดยาเหล่านี้ ในครั้งแรกอาจใช้ จากสาเหตุหลายอย่าง เช่น เพื่อนชักชวน การอยากลอง อยากมีประสบการณ์แปลกๆ รักสนุก หรือปัญหาครอบครัว เป็นต้น เมื่อตกอยู่ภายใต้อิทธิพล ของสารเสพย์ติดเหล่านี้ ผู้ใช้จะมีความรู้สึก เคลิบเคลิ้มเหมือนว่า อยู่ในอีกโลกหนึ่ง ที่แตกต่างจากโลกที่เคยพบ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงแค่ ความรู้สึกชั่วคราว ที่เกิดจากฤทธิ์ของยา ซึ่งจะหายไป เมื่อยาหมดฤทธิ์ ดังนั้นในขณะที่ใช้ยา จึงมักขาดสติ เหตุผล และความยั้งคิด และอาจก่อเรื่อง ที่จะต้องเสียใจในภายหลัง หรือแม้กระทั่งเรื่อง ที่ไม่มีโอกาสเสียใจอีกเลย ผู้ที่ติดยาจึงเปรียบเหมือน ระเบิดเวลา ที่อาจจะระเบิดออกมา เมื่อไรก็ได้ เมื่อระเบิดแล้วก็ก่อปัญหา ทั้งต่อตัวเองและสังคม

2.การใช้ยาเสพย์ติด ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพล มาจากวัฒนธรรม และสังคมต่างประเทศ โดยเฉพาะ ในกรณีของยาอี และยาเค ดังนั้นครอบครัว จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะปลูกฝัง ภูมิคุ้มกันยาเสพย์ติด ให้แก่เยาวชนของชาติ หมั่นสอดส่องดูแล ให้ความเข้าใจ และความอบอุ่น แก่บุตรหลานของท่าน เสียแต่วันนี้ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียใจ และต้องสอดส่องดูแล บุตรหลานของท่าน ภายใต้มาตรการ ของกฎหมายในวันหน้า

3.ในส่วนของตัวเยาวชนเอง ต้องรู้จักการยับยั้งชั่งใจ รู้จักปฏิเสธ หรือพูดคำว่า “ไม่” เมื่อถูกชักชวน ให้ทดลองเสพย์ยา และต้องไม่หลงไหลได้ปลื้ม ไปกับวัฒนธรรม ของคนต่างชาติ ซึ่งมีแนวความคิด ขนบธรรมเนียม และประเพณี แตกต่างจากคนไทย การใช้เวลาว่างให้ถูกต้อง โดยการเล่นกีฬา ดนตรี หรือแสวงหา ความรู้เพิ่มเติมนั้น ดีกว่าการเที่ยวรักสนุก หรือการไฝ่หาทดลอง ประสบการณ์แปลกๆ จิตใจที่เข้มแข็งมั่นคง เป็นเหมือนเกราะป้องกัน การแทรกซึม จากภัยของยาเสพย์ติด

4.การประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ความรู้ เรื่องพิษภัยของยาเสพย์ติด คงจะเป็น อีกมาตรการหนึ่ง ที่ช่วยสร้างความเข้าใจ ที่ถูกต้องแก่เยาวชนได้ การจัดค่ายอบรม เรื่องยาเสพย์ติด การจัดรายการประจำ ทางสื่อวิทยุโทรทัศน์ และคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ นิตยสารและสิ่งพิมพ์ต่างๆ ตลอดจน การให้ความรู้ ทางสื่ออื่นๆ น่าจะเป็นวิถีทาง ที่เร่งเร้าจิตสำนึก ของคนไทยให้ช่วยกัน ขจัดปัญหายาเสพย์ติด อีกประการที่สำคัญ คือผู้รับผิดชอบกำกับดูแล มาตรการทางกฎหมายและสังคม คงจะต้องทำหน้าที่ อย่างเคร่งครัด และมีประสิทธิภาพ และต้องยอมรับกันว่า การแก้ปัญหา ที่ปลายเหตุคือผู้เสพย์ยา แต่เพียงอย่างเดียว ไม่น่าเป็นหนทางแก้ปัญหา ที่มีประสิทธิภาพ การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ซึ่งได้แก่การลักลอบผลิต และจำหน่าย จะช่วยส่งเสริมให้ การแก้ปัญหา ได้ผลอย่างถาวร การร่วมมือร่วมใจ ระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย คงจะเป็นนิมิตรหมายอันดี ที่นำไปสู่การแก้ปัญหา อย่างมีประสิทธิภาพ การปัดปัญหา ออกจากตัว หรือการเอาแต่ ตำหนิซึ่งกันและกัน รังแต่จะชะลอปัญหา ให้คั่งค้างหมักหมม จนหนักหนาสาหัส เกินแก้ไขในที่สุด


อาการของการเลิกใช้ยาหรือถอนยา

ในรายผู้ที่เสพติดยาม้าแล้วเมื่อหยุดการใช้ยาก็จะเกิดอาการ ได้แก่รู้สึกร่างกายอ่อนเปลี้ยเพลียแรงมาก จนกระทั่งไม่มีแรงแม้จะทานอาหารจะมีอาการกระวนกระวาย กระสับกระส่าย ความคิดสับสน ปวดศรีษะ เหงื่อแตกมากปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ปวดบิดในท้อง รู้สึกร้อนสลับหนาวจัดได้ อาจทุรนทุรายเอะอะอาละวาด ทำร้ายผู้อยู่ใกล้เคียงได้อาจฆ่าตัวตายเนื่องจากมีอารมณ์ซึมเศร้ามาก
อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นหลังจากขาดยาไปเพียง 2-3 วันและอาจมีความรู้สึกทรมานต่อไปอีกเป็นอาทิตย์ ซึ่งผู้เสพบางรายอาจจะทนไม่ได้แต่โดยทั่วไปอาการจะมีประมาณ 1 อาทิตย์
ในระยะหลังจะพบผู้ติดยาม้ามากขึ้นโดยเฉพาะในสถานศึกษาโดยทั่วไปเลิกไม่ยากเนื่องจากโดยส่วนใหญ่ไม่มีอาการอะไร และอาการถอนยาก็ไม่รุนแรงอาจมีอาการหงุดหงิดบ้างเล็กน้อย อ่อนเพลีย นอนหลับมากปวดเมื่อยตามตัวผู้เสพติดสามารถเลิกได้เองโดยไม่ต้องใช้ยาอะไร นอกจากในรายที่มีอาการทางด้านโรคจิตประสาทชัดเจนหรือกลุ่มซึ่งติดมานานจนเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ การบำบัดรักษาเพื่อให้เลิกจากการเสพยาแอมเฟตามีน ความสำคัญอยู่ที่ทำให้ผู้เสพเข้าใจถึงพิษภัยของยาม้าในระยะยาวโดยเฉพาะในเรื่องของระดับสติปัญญาที่ลดลงไปเรื่อยและเกิดอาการทางจิตประสาทตามมาซึ่งระยะเวลาที่เริ่มมีอาการมักเกิดภายหลัง2-5ปีหลังการเสพติดรวมทั้งผลกระทบอื่นๆในทุกด้านอาจใช้ยาที่มีผลทำให้ความรู้สึกอยากยาลดลงและยาที่ควบคุมอาการทางจิตประสาท การใช้กิจกรรมหรือพฤติกรรมบำบัด



การตรวจสารเสพติด (ยาบ้า)

ต่อแต่นี้ไปจะอธิบายถึงวิธีการตรวจสารเสพติด หลักการและเหตุผล ตลอดจนวิธีการทางเทคนิคในการตรวจการตรวจปัสสาวะนักเรียนในสถานศึกษาหรือสถานประกอบการต่างๆ ในลักษณะป้องปราม สำหรับเด็กนักเรียนหรือพนักงานที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเสพยาควรดำเนินการตรวจต่อเนื่องทุกเดือน โดยไม่ต้องบอกล่วงหน้า การใช้มาตรการนี้นักเรียนหรือพนักงานส่วนใหญ่จะกลัวแล้วไม่กล้าเสพอีก อย่างไรก็ตามการตรวจปัสสาวะนักเรียนจำนวนมาก ๆ ทั้งโรงเรียนหรือพนักงานทั้งโรงงาน หากไม่มีความเข้าใจในการตรวจ หรือการแปลผลการตรวจที่ดีพอมักก่อให้เกิดปัญหากระทบต่อนักเรียนและผู้ปกครองหรือตัวสถานประกอบการเอง ในกรณีที่นักเรียนหรือพนักงานผู้นั้นไม่ได้เสพยาบ้าจริงๆ แต่เกิดผลบวกลวง จากการตรวจปัสสาวะ ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วเกิดขึ้นได้จริงๆ ขึ้นอยู่กับแม่นยำของวิธีที่ใช้ในการตรวจดังนั้น เมื่อสถานศึกษาหรือสถานประกอบการใดต้องการตรวจปัสสาวะนักเรียนหรือพนักงาน จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องต้องศึกษาให้เข้าใจถึงวิธีและข้อจำกัดในการตรวจ เพื่อให้ได้ผลที่ถูกต้องและสามารถดำเนินการต่อไปได้ถูกต้องด้วยอาศัยความรู้ที่ว่าเมื่อมีการเสพยาบ้าเข้าไปในร่างกาย ร่างกายจะขับออกทางไต นั่นคือออกมาพร้อมๆกับปัสสาวะ อาจมีผู้สงสัยว่าจะตรวจจากเลือดได้หรือไม่ คำตอบคือ ตรวจได้ แต่ไม่นิยมทำกัน เพราะระดับแอมเฟตามีนในเลือดจะต่ำมาก โอกาสผิดพลาดสูง ค่าใช้จ่ายก็สูงด้วย และที่ตรวจกันก็จะทำในงานวิจัยเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เอง การตรวจยาบ้าจึงนิยมตรวจในปัสสาวะ ซึ่งปัจจุบันนี้มีวิธีตรวจหลายวิธี แบ่งวิธีการตรวจออกได้เป็น 3 กลุ่มตามประสิทธิภาพและ ความจำเพาะ

1. วิธีการตรวจขั้นต้น (CCR) โดยใช้ปฏิกริยาทางเคมีในการตรวจใช้เวลา 2-5 นาที ชุดทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สารออกฤทธิ์ในยาบ้าจะทำปฏิกิริยากับน้ำยา ตรวจสอบในสภาวะที่เหมาะสม แล้วเปลี่ยนสีของน้ำยาจากสีเหลืองเป็นสีม่วงแดง

2.วิธีการตรวจแบบสกรีน(CICA) โดยหลักการอิมมูโนแอนติบอดีย์ใช้เวลา 10-15 นาที ชุดทดสอบที่ใช้หลักการภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunoassay) โดยใช้หลักการ Immunochromatographic Technique เมื่อหยดปัสสาวะลงในช่องปัสสาวะจะซึมไปตามกระดาษที่เคลือบด้วยสารภูมิคุ้มกัน สามารถอ่านผลโดยดูจากแถบสีที่ปรากฏ

3. วิธีการตรวจยืนยัน เป็นการตรวจขั้นสูง ที่อาศัยน้ำยาและเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจที่มีราคาแพงได้แก่ แก็สโครมาโตรกราฟฟีหรือแมสสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ (GC/Mass) และจำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญ ให้ผลการตรวจที่แม่นยำถูกต้องสูง แม้จะมีระดับสารเสพติดในปริมาณต่ำๆก็สามารถตรวจได้ Gas Chromatography / Mass Spectrometry (GC / MS) เป็นเครื่อง GC ที่ต่อเข้ากับ MSสารในตัวอย่างตรวจจะถูกแยกออกจากกันด้วยเครื่อง GC แล้วถูกวิเคราะห์โดยอาศัยคุณสมบัติของมวล/ประจุของสารแต่ละชนิด ด้วยเครื่อง MS การตรวจด้วยเครื่องดังกล่าวเป็นการตรวจยืนยันที่ดีที่สุด สามารถบอกปริมาณของแอมเฟตามีนที่พบได้ว่ามีเท่าไร กี่นาโนกรัม ซึ่งทำให้หมดปัญหาในข้อโต้แย้งของการตรวจ แต่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงและตรวจได้เฉพาะที่ศูนย์บางแห่งเท่านั้น



ยาในกลุ่มดังกล่าว

ได้แก่

1. ยาแก้แพ้-ยาแก้หวัดคัดจมูก เช่น ซูโดเอฟรีดีน, คลอร์เฟนนิรามีน และ เฟนิลโพรพานอรามีน

2. ยาแก้ไอ เช่น เดซ์โตรเมโทรแฟน และโคดีอีน

3. ยาที่รักษามาเลเรีย เช่น ควินีน และควินิดีน

4. ยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ได้แก่ อิมิปรามีน อะมิทริปทัยลีน และคลอโปรมาซีน

5. และยาลดความอ้วน